วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชุดแต่งกายของประเทศไทย







โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. ชุดไทยเรือนต้น

2. ชุดไทยจิตรลดา

3. ชุดไทยอมรินทร์

4. ชุดไทยบรมพิมาน

5. ชุดไทยจักรี

6. ชุดไทยจักรพรรดิ

7. ชุดไทยดุสิต

8. ชุดไทยศิวาลัย






พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติอาหารไท
         
          อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้น
และจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทย
จะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน
ของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือนไม่ว่าจะเป็น
พริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอมตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร
จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธี
นำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น
แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน
การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหาร
ตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบ
อาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย
เครื่องเทศ
หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดอาหารไทยถือว่ามี
ีลักษณะพิเศษ   เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีพิเศษ
ตามภูมิอากาศ  และภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปีรวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ใน
สายเลือดอยู่แล้ว    จึงแสดงออกซึ่งศิลปะวิทยาของคนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกิน
อาหารที่มีลักษณะเฉพาะ   ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป  รส  กลิ่น 
ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการจัดรูปแบบและ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สัตว์ประจำชาติไทย

ช้าง (Elephant) คือสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่อยู่ในวงศ์ Elephantidae ช้างเป็นสัตว์อนุรักษ์ของทุกประเทศ จัดอยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังเนื่องจากมีโอกาสสูญพันธุ์ นอกจากจะเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีความเป็นมิตรสูงและสามารถทำให้เชื่องได้แล้ว ช้างยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประจำชาติของไทยมาตั้งสมัยโบราณ

เมื่อไม่นานที่ผ่านมา จำนวนของช้างลดลงอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการล่าเพื่อเอางา ทำให้องค์กรและประเทศต่างๆทั่วโลกหันมาใส่ใจอนุรักษ์และเอาผิดกับผู้ล่าอย่างจริงจัง ทำให้จำนวนของช้างทรงตัวและค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้าๆ ในปัจจุบันช้างที่เหลืออยู่บนโลกสามารถแบ่งแยกออกได้ 3 สายพันธุ์หรอื 3 สปีชีย์ ได้แก่ ช้างเอเชีย ช้างแอฟริกา และช้างป่าแอฟริกา โดยที่เป็นน่าเสียดายว่าสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงช้างตะกูลยักษ์ใหญ่สายพันธุ์แมมมอธได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพันธุ์ไปหมดแล้ว

ดอกไม้ประจำชาติไทย

ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษGolden showerชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุด

ผู้นำประเทศไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ชื่อเล่น: ปู) เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย, กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม ด้วยวัย 44 ปี จัดว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรีไทยอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[2][3]
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพันตำรวจโท ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 [4

ประวัติประเทศไทย

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก
ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมรและมาเลย์ปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังโปรตุเกสยึดครองมะละกา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง อาณาจักรอยุธยาเจริญถึงขีดสุดหลังจากนั้น ทั้งความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็รุ่งเรืองมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลง จนล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310
พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองพระองค์เดียว กินระยะเวลาเพียง 15 ปี แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 กรุงรัตนโกสินทร์ยังเผชิญกับภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งรัชกาลที่ 4
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการยกดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้ง แต่สยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร อันทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น แต่ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา มีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และมีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

ธงชาติไทย